วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 16 วันที่ 4 ตุลาคม 2554

อาจารย์นัดนักศึกษาสอบปลายภาค

ครั้งที่ 15วันที่ 27 กันยายน 2554

อาจารย์สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อที่จะได้สรุปให้นักศึกษาฟังไปแต่ล่ะหัวข้อดังนี้

ความรู้ที่ได้จากรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- ความหมายวิทยาศาสตร์
- สื่อวิทยาศาสตร์
- ทักษะวิทยาศาสตร์
- การเขียนแผน
- การเรียนรู้ /การรับรู้ของเด็ก
- การทำโครวการวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- การจักนิทรรศการ
- การสอนแบบโครงการ
- การทำของเล่น
- หลักการจักประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
- รู้พัฒนาการของเด็ก
- การประเมิน
- วิธีการเรียนรู้

ครั้งที่ 14วันที่ 20 กันยายน 2554

อาจารย์เปิดดู Bloggr และตรวจดู Bloggr ของนักศึกษาและก็ให้นักศึกษาไปแก้ไขเพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ ดังนี้
1.
ทักษะการสังเกต
2.
ทักษะการจำแนก
3.
ทักษะการแสดงปริมาณ
4.
ทักษะการสื่อความหมาย
5.
ทักษะการแสดงความคิดเห็น
6.
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
อาจารย์ให้ส่งแผนของแต่ละคน แผนของดิฉัน เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้ ดังนี้
จุดประสงค์
1.
สามารถบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
2.
มีความเข้าใจว่าผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
สาระการเรียนรู้
-
ประสบการณ์สำคัญ
1.
การบอกอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้
2.
การเข้าใจของผลไม้แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
-
สาระที่ควรเรียนรู้
1.
ประโยชน์ของผลไม้
กิจกรรม
ขั้นนำ
1.
ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง ดังนี้ ดูซิผลไม้ไทย มีลำไย และส้มโอ มะละกอและแตงโม ผลโตๆมีมากมาย มีไว้ขายและรับประทาน
ขั้นสอน
1.
ครูนำผลไม้จำลองมาให้เด็กๆดูหลายชนิด แล้วครูหยิบผลไม้ขึ้นมา 1 ชนิดและถามว่า เด็กๆทราบไหมว่าผลไม้ที่ครูหยิบมามีประโยชน์อย่างไรบ้าง
2.
ครูให้เด็กออกมาหยิบผลไม้ที่ตนเองชอบ 1 ชนิด
3.
ให้เด็กบอกว่าผลไม้ที่เด็กชอบมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
4.
ครูนำภาพประกอบประโยชน์จากการที่เด็กๆทานผลไม้แล้วดีอย่างไร เช่น กินผลไม้แล้วร่างกายแข็งแรง กินผลไม้แล้วขับถ่ายง่าย ฯลฯ
ขั้นสรุป
-
ใช้คำถามว่าผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และร่วมกันท่องคำคล้องจองอีกครั้ง
สื่อ
1.
คำคล้องจอง
2.
ผลไม้จำลอง
3.
รูปภาพ
การประเมิน
สังเกต
1.
การพูดบอกประโยชน์ของผลไม้
2.
จากการตอบคำถามและเล่าประสบการณ์เดิม

ครั้งที่ 13วันที่ 13 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งแผนกลุ่ม โดย กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน หน่วยเรื่องผลไม้ และอาจารย์ถามว่าเรื่องที่เราเอามานั้นเอามาจากไหน หัวข้อเรื่องที่เราจะนำมาสอนเราก็ต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3.
ธรรมชาติรอบตัว
4.
สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
และในแผนการสอนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ส่วนประกอบมีดังนี้
-
วัตถุประสงค์
- สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ
- กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป
เราจะต้องเขียนให้ครบทุกส่วนประกอบที่มีอยู่ในแผน เพื่อง่ายแก่การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็ก และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนผน คือ หน่วยเห็ด เพื่อให้ทราบวิธีการเขียนที่ถูกต้องและนำไปเขียนแผนในแต่ละวันของตนเองที่ย่อยจากของกลุ่ม โดยให้แต่ละคนในกลุ่มเลือกหัวเรื่องที่ย่อยจากหัวเรื่องใหญ่มาเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ในแต่ะลวัน มั้งหมดมี 5วัน

ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งงานประดิษฐ์ที่ประดษฐ์จากแกนทิชชู ของดิฉันประดษฐ์ กล้องผสมสี
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบว่าการผสมสี 2สี แล้วจะเกิดเป็นสีอื่นอีกได้
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู 6 อัน
2. กระดาษแก้ว 3 สี
3. กระดาษสี
4. สติกเกอร์ใส
5. กรรไกร
6. กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ 6 แผ่น
3. นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6อัน
4. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5. นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1. นำกล้องอันเล็กสอดใส่อันใหญ่แล้วส่งไปทางที่มีแสงก็จะเกิดการผสมแล้วจะเปลี่ยนเป็นอีกสีหนึ่ง
เช่น ถ้านำกล้องสีเหลืองมาใส่กับสีนำเงิน จะเกิดเป็น สีเขียว
ถ้านำกล้องสีแดงมาใส่กับสีเหลือง จะเกิดเป็นสี สีส้ม
ถ้านำกล้องสีน้ำเงินผสมกับสีแดง จะเกิดเป็นสีม่วง

และหลังจากนั้นอาจารย์ให้เขียนหน่วยมาส่งอาจารย์กลุ่มละ 1 หน่วย โดยใช้สอน 5 วันและให้ดูวัซีดีเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ

ครั้งที่ 11 วันที่ 30สิงหาคม 2554


อาจารย์พูดเรื่อง แกนทิชชูที่เหลือใช้ว่าสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใหม่ได้อีกดังนี้
แกนทิชชู => - การแก้ปัญหา คือ อย่าใช้เยอะ นำมาใช้ใหม่
-
เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ผลิตจากธรรมชาติ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดพลังงาน
-
ประโยชน์ คือ นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ ขายได้ราคา
อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชูมา 1 อย่างต่อ 2 คน และได้สอนเรื่องการสอนแบบโครงการว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการให้กับเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งการสอนแบบโครงการมีวิธีการสอน ดังนี้
1.
เริ่มโครงการ => - เลือกหัวเรื่อง
-
อยากรู้เลื่อกอะไร โดยการใช้คำถามแล้วได้คำตอบมา
-
ทำอย่างไร
-
ทบทวนประสบการณ์เดิม
2.
ดำเนินการ => ดำเนินการลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางไว้และเก็บร่องรอยหรือถ่ายรูปเก็บไว้
3.
สรุป => จากการที่ได้เรียนได้ไปดูมานำมาแสดงผลงานหรือจัดนิทรรศการ